Marketplace เค้าเล่นเกมที่แตกต่างจากเรา

ผมเชื่อว่าคุณคงเคยได้ยินคำว่า Start-up บ่อยๆ และ Marketplace ตาม Local พวกนี้เค้าก็ทำธุรกิจในแนวทางของ Start-up เกือบทั้งนั้นครับ เกมของเค้ามองไม่ยากครับ

ลองมาดูผลประกอบการของ Lazada และ Shopee กัน (ขอบคุณข้อมูลจาก Marketeer ครับ)

ขาดทุนทุกปี ขาดทุนมากด้วย คุณคิดว่า Lazada กับ Shopee และ Marketplace อื่นๆแนวนี้เค้าทำอะไรอยู่กันแน่ครับ?

โมเดลธุรกิจของพวกเค้าในเฟสนี้ไม่ใช่การทำกำไรจากทั้งคนขายและคนซื้อบนระบบของเค้า

เค้าทุ่มงบการตลาดไปมากมายเพื่อให้คนซื้อและคนขายเข้ามาอยู่ในฐานข้อมูลของเค้าให้มากที่สุด แบบจัดโปรส่วนลดแล้วทาง Marketplace จ่ายส่วนต่างเอง

เรียกว่าคนขายได้เงินเท่าเดิม คนซื้อจ่ายเงินน้อยลง เดี๋ยว Marketplace ออกส่วนต่างให้เอง โคตรใจป้ำ!

พอจะเห็นเกมของเค้าหรือยังครับ?

เกมของเค้าก็คือการสร้างฐานข้อมูลของคนขายและคนซื้อให้มากที่สุดครับ เพื่อในอนาคตเค้าจะได้เอาธุรกิจไปขายให้กับนักลงทุนที่สเกลใหญ่กว่าเค้าแล้วรับเงินก้อนยักษ์ไปแทน ง่ายๆก็คือเค้าขาย Big Data นั่นเอง

แล้วมันเกี่ยวข้องกับคำพูดของผมที่ว่านโยบายของเค้าดูเหมือนจะก้ำกึ่งกับการสนับสนุนให้คนขายตัดราคากันอย่างไรครับ?

ก็ถ้าคนขายเค้ามีจำนวนมากขึ้น คนซื้อมากขึ้น รายการซื้อมากขึ้น จำนวนผู้ใช้หรือฐานข้อมูลเค้าก็จะใหญ่ขึ้นไงครับ

ข้อมูลที่ผมได้มาจากคนข้างใน Marketplace (ขอสงวนชื่อไว้ณ.ที่นี้เพื่อความปลอดภัยของเจ้าตัว) เค้าบอกว่าระบบของ Marketplace เองเค้าจะกระจายให้คนซื้อได้เห็นร้านใหม่ๆที่เพิ่งเปิดมากกว่าร้านกลางๆอีกนะครับ ประมาณว่าเค้าจะแบ่งร้านขายเป็น 3 ระดับ ระดับบนคือพวกแบรนด์ดัง อันนั้นต้องยกให้คนซื้อเห็นบ่อยแน่นอน รายได้ใหญ่ๆจะกระจุกอยู่ที่ระดับนี้ครับ

ระดับต่อมาคือระดับกลาง จะเป็นพวกร้านทั่วไปที่เปิดมาสักพัก พอมียอดขายเรื่อยๆ อันนี้เค้าจะดูแลแบบ... เงียบๆ 😛

และต่อมาคือระดับล่าง เป็นพวกร้านเปิดใหม่ที่ระบบจะพยายามดันให้มียอดขายกระจายๆกันไปเพื่อให้ร้านเปิดใหม่รู้สึกว่าลงของแล้วขายได้ จะได้หาของมาลงขายเพิ่มและบอกต่อครับ

ผมก็ไม่รู้ว่าข้อมูลที่ผมได้มามันถูกต้อง 100% หรือไม่ แต่ถ้าถามผมก็ต้องบอกว่ามันก็สอดคล้องกับโมเดลธุรกิจของ Marketplace เหล่านี้อยู่

และถ้ามันเป็นจริงนั่นก็คือ... เค้าสนับสนุนให้คนมาเปิดร้านใหม่มากๆ ซึ่งวิธีที่ง่ายที่สุดสำหรับการเปิดร้านใหม่ก็คือดูว่าสินค้าอะไรขายดีอยู่ แล้วก็เอามาตัดราคานั่นเอง!

แบบนี้เองทำให้สินค้าที่ขายดีนั้นมีอายุการทำเงินสั้นมากๆ เพราะคนแย่งกันตัดราคา สินค้าที่ขายดีๆทำเงินให้เราดีๆ จะอยู่ได้ไม่นานนักเพราะจะมีคู่แข่งมาไล่ตัดราคากันนั่นเอง (เวลาโกยได้ต้องรีบโกยเลยครับ)

ผมถึงบอกว่าเราอาจจะเล่น "คนละเกม" กับเค้าอยู่ คือถ้ามันสอดคล้องกับเป้าหมายเราก็โอ

แต่ถ้าไม่... เราก็ต้องพิจารณาดีๆครับ

แน่นอนว่าทางรอดในระยะยาวของการทำ e-Commerce พวกนี้ยังมีอยู่แน่นอนนั่นก็คือการสร้างแบรนด์ของสินค้าเราเอง การเป็นตัวแทนจำหน่ายแต่เพียงผู้เดียว หรือแม้แต่การสร้าง Marketplace ขึ้นมาเอง อาจจะยากหน่อย แต่ถ้าคุณอยากอยู่รอดในตลาดนี้ คุณต้องทำครับ

ส่วนผมก็อย่างที่บอกครับ ผมไม่ชอบลงทุนสูง ไม่ชอบความยุ่งยากของกระบวนการขาย Physical Product รวมไปถึงการที่ต้องมีทีมใหญ่มาบริหารจัดการครับ

ผมย้ำอีกครั้งว่าจุดมุ่งหมายของผมคือ... 

การสร้างรายได้ที่ผมพอใจ (พอใจ + ฟุ่มเฟือยได้บ้าง) และต้องมีเวลากลับมาให้มากที่สุดครับ ไม่ได้ต้องการสร้างบริษัทไปเข้ามหาชนใดๆ

ผมเลยเผ่นไปทำสินค้าดิจิตอลหรือ Digital Product เรียบร้อยโรงเรียนเสรี! 55555

x
>